ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของผม


เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของผมในชีวิต ผมได้มันมาปี พ.ศ. 2527 เป็น platform MSX ยี่ห้อ CASIO รุ่น MX-10 มี memory ทั้งหมด 16 KB (kilobyte) เครื่องนี้ดูผิวเผินมันเหมือนกับเครื่องเล่นเกมส์แบบเสียบตลับเกมส์ แต่ถ้าเราถอดตลับเกมส์ออกเมื่อไหร่มันจะ boot เข้าสู่ OS และใช้เขียน MS Basic ได้เลยทีเดียว ผมใช้มันเขียนภาษา basic อยู่หลายปี ก่อนจะทำหายไป

ไม่น่าเชื่อว่าเจ้าเครื่องเล็ก ๆ นี้ได้กำหนดวิถีชีวิตการทำงานของผมตั้งแต่ตอนนั้น ทำให้ผมเป็นผมแบบทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่การเลือกเดินสายการงานด้าน IT แต่เป็นการฝึกผมให้รักในการค้นคว้าอะไรใหม่ ๆ ลองนึกสภาพเด็กมัธยมต้นต่างจังหวัด 12 ขวบ ที่ไม่เคยมีความรู้คอมพิวเตอร์มาก่อน ไม่มีโรงเรียนสอน และแน่นอนสมัยนั้นไม่มี Internet ต้องเรียนรู้ด้วนตัวเองทั้งหมด ที่พึ่งอย่างเดียวของผมมีแค่นิตยสารรายปักษ์ ทั้งเล่มเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคอมเลย แต่มีเนื่อหาเกี่ยวกับ ภาษา BASIC บน MSX ฉบับละ 2-3 หน้า แต่เท่านี้ก็เพียงพอที่จะทำให้ผมเฝ้ารอเพื่อที่จะได้เรียนรู้ คำสั่งใหม่ วิธีการใหม่ ๆ ทุกสัปดาห์ ผมลองผิดลองถูกหลายรอบ เริมใหม่หลายรอบ จนสามารถเขียนเกมส์เล็ก ๆ บนเครื่องนี้ได้สำเร็จ ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในชิวิตผม แต่งาน program ชิ้นนั้นก็อยู่ได้ไม่กี่นาที จุดจบเมื่ออาม่าเดินผ่านแล้วขาไปเกี่ยวกับปลักไฟเข้าให้ เครื่องคอมดับคาตาพร้อม ๆ กับ program ที่ยังไม่ได้ save ลง tape cassette จำได้ว่าตอนนั้นโกรธอาม่าไปหลายวัน แต่จริง ๆ แล้ว program นั้นมันไม่ได้หายไปไหน มันยังคงอยู่ใน memory ที่ดีที่สุดในโลก นั่นคือความทรงจำของผมนั่นเอง ทุกวันนี้ระบบที่ผมออกแบบทุกระบบยังคงมีรากฐานเดียวกันตลอดมา คือการออกแบบ data model และ algorithm ก่อนที่จะออกแบบ UI และความรู้นี้ช่วยให้ผมผ่านงานยาก ๆ มาหลายต่อหลายครั้ง


ผู้ที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมดนี้ ผู้ที่ซื้อเครื่องให้ ซึ่งตอนนั้นถือเป็นของเล่นราคาแพงมาก ๆ เทียบค่าครองชีพสมัยนั้นกับสมัยนี้ก็น่าจะแพงประมาณ MacBook และท่านยังเป็นคนรับนิตยสารที่ผมรออ่านทุกสัปดาห์มาวางขายที่แผงหนังสือหน้าบ้านรอให้ผมมาเปิดอ่าน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครซื้อซักเล่มต้องส่งคืนสำนักพิมพ์ทุกทีไป คนผู้นั้นก็คือคุณแม่ผมนี่เอง ต้องถือว่าท่านเลือกลงทุนในการซื้อของเล่นให้ลูกได้ถูกต้องที่สุด เพราะที่บ้านไม่ได้มีฐานะอะไร ของเล่นผมแทบไม่มีซักชิ้น แต่ชิ้นนี้เป็นชิ้นที่มีความหมายกับผมที่สุด และเป็นชิ้นที่ทำให้ผมทราบว่า แม่รักผมมากแค่ไหน และผมก็รักแม่เช่นเดียวกันครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาต้าเซ็นเตอร์แนวคิดใหม่

ดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ ใช้แนวคิดล่าสุดในการทำความเย็นให้เครื่อง servers แทนที่จะทำความเย็นทั้งห้อง เป็นการใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า และมีความมั่นคงระดับ tier 3+ ระบบทั้งหมดยกขึ้นมาอยู่เหนือ rack ให้เห็นกันชัดๆ แทนที่จะซ่อนไว้ใต้พื้น ดูแลรักษาง่าย balance phases ไฟฟ้าสะดวก ปรับควบคุม air flow ได้ตามสั่ง ระบบ monitoring สมบูรณ์แบบ ทั้งไฟฟ้า อุณหภูมิ ความชื้น มาพร้อมระบบดับเพลิงที่ปลอดภัยไม่เป็นพิษกับคนและสิ่งแวดล้อม 

ตามหาของหาย โปรแกรม tetris 3 คน

ตามหาของหาย โปรแกรม tetris 3 คน เล่นบนเครื่องเดียว ที่เขียนตอนสมัยเรียน ผมทำหายไปนานแล้วทั้ง source code และ exe file แต่ทราบว่ารุ่นน้อง ๆ ยังเล่นต่อกันอีกหลายปี ใครมี file อยู่รบกวนขอด้วยครับ จะจัดฉลองใหญ่สมนาคุณ โปรแกรมนี้ดูเหมือนเป็นเกมส์ธรรมดา แต่สำหรับเครื่องในสมัยนั้น รัน os เป็น dos แต่ต้องรัน tetris สามเกมส์ในเครื่องเดียวกันแถมยัง มี background music และ sound effect ออกลำโพง digital ต้องใช้เทคนิค event driven กันเลยทีเดียว ไม่น่าเชื่อว่าเทคนิคโบราณจะกลับตอบโจทย์ concurrency สำหรับ server โปรแกรม หลายตัว เช่น nginx หรือ app ที่พัฒนาด้วย nodejs

Push หรือ pull สำหรับ mobile application

ช่วงนี้เห็นมี mobile application ใหม่ ๆ เกิดขึ้น และมีความต้องการการทำงานแบบ real-time ขึ้นเช่นการ update transaction บนหน้าจอ app ทันที ที่ transaction สำเร็จ model ที่ใช้กันมี 3 แบบหลัก ๆ ตามในรูป จากประสประสบการณ์ผม push-pull เป็นแบบที่เหมาะสมกับงานแบบนี้ที่สุด  แบบ polling ช้าและเกิดภาระที่ server สูง ส่วน push ต้องจัดการกับความไม่เสถียรของ mobile network ซึ่งถ้าไม่ได้ออกแบบรอบรับไว้ตั้งแต่ต้นรับรองว่างานหยาบ