ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิวัฒนาการของการออกแบบ UX ของ mobile application

วิวัฒนาการของการออกแบบ UX ของ mobile application จากเดิมหน้าแรกจะเจอะเมนูหรือ navigation แล้วต้องกดเลือกก่อนจึงจะเห็นข้อมูล ปัจจุบันหา UX ประเภทนี้ไม่เจอแล้ว เปลี่ยนเป็นการแสดงข้อมูลที่ใช้ประจำขึ้นมาทันทีที่เปิด app ในรูปแบบ dashboard และก็ถืงเวลาที่รูปแบบใหม่จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้น นั่งคือการแสดงผลแบบ feed นั่นเอง
ตามตัวอย่างในรูป app health tracking 2 ตัว คือ Garmin กับ Nokia ความตั้งใจแรกจะเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของสอง UX คือ Nokia เป็น feed ส่วน garmin เป็น dashboard แต่พอเปิด garmin ก็พบว่ามันได้เปลี่ยนการแสดงผลเป็น feed ไปแล้ว แสดงว่า Garmin แองก็เห็นประโยชน์เหมือนกัน


ข้อดีของการแสดงแบบ feed คือสามารถโต้ตอบกับระบบได้ ยกตัวอย่าง Nokia app เราสามารถเลือกโปรแกรมลดน้ำหนัก หรือโปรแกรมปรับการนอน หรือกระทั่ง โปรแกรมสำหรับคนท้องได้ มันจะ update กับเราทุกวัน เหมือนเราได้สื่อสารโต้ตอบกับระบบทุกวัน และยังสามารถใส่ machine learning เพิ่มในอนาคต ได้เรื่อยๆ ในขณะที่ dashboard ทำไม่ได้
ไม่จำกัดเฉพาะ health tracking app เท่านั้นที่ใช้ UX แบบ feed ได้ bank app ก็ทำได้เช่นกันเมื่อโดยเฉพาะเมื่อการใช้งาน app เปลี่ยนจากการดูยอดเงิน กับจ่ายค่า สาธารณูปโภค ไปเป็นการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า ผู้ใช้จะสะดวกกว่ามากถ้าการแสดงผลเป็น feed ถึงเวลานั้นข้อมูลการจับจ่ายก็จะมากพอที่จะประมวลผลด้วย big data แล้วใช้ machine learning มาเสนอบริการทางการเงินผ่าน app feed จะตรงความต้องการของลูกค้ามากกว่าการโทรหว่านแหแบบในปัจจุบัน
การส่งข้อแนะนำการลงทุนแทนที่จะเป็น email ถ้ามาอยู่ใน feed ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่ามาก เพราะสามารถให้ลูกค้าตอบสนองว่าสนใจข้อมูลที่ส่งให้หรือไม่ สามารถส่งข้อแบบ custom เฉพาะตัวลูกค้าได้
ข้อดีมากมาย แต่การจะทำ feed รองรับผู้ใช้งานเป็นล้านคนไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีการวางโครงสร้างข้อมูลที่มีความสามารในการ push ได้รวดเร็ว ไม่ใช่ pull แบบเทคโนโลยี database ในปัจจุบัน รายละเอียดคงไม่สามารถเขียนบนนี้ให้ครบได้
สรุปคือ UX แบบ feed มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ทำไม่ง่ายต้องใช้ เทคโนโลยีใหม่และใช้เวลาในการศึกษา ควรเริ่มศึกษาตั้งแต่ตอนนี้เลยเดี๋ยวจะไม่ทันคู่แขงนะครับผม ,;)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดาต้าเซ็นเตอร์แนวคิดใหม่

ดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่ ใช้แนวคิดล่าสุดในการทำความเย็นให้เครื่อง servers แทนที่จะทำความเย็นทั้งห้อง เป็นการใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า และมีความมั่นคงระดับ tier 3+ ระบบทั้งหมดยกขึ้นมาอยู่เหนือ rack ให้เห็นกันชัดๆ แทนที่จะซ่อนไว้ใต้พื้น ดูแลรักษาง่าย balance phases ไฟฟ้าสะดวก ปรับควบคุม air flow ได้ตามสั่ง ระบบ monitoring สมบูรณ์แบบ ทั้งไฟฟ้า อุณหภูมิ ความชื้น มาพร้อมระบบดับเพลิงที่ปลอดภัยไม่เป็นพิษกับคนและสิ่งแวดล้อม 

ตามหาของหาย โปรแกรม tetris 3 คน

ตามหาของหาย โปรแกรม tetris 3 คน เล่นบนเครื่องเดียว ที่เขียนตอนสมัยเรียน ผมทำหายไปนานแล้วทั้ง source code และ exe file แต่ทราบว่ารุ่นน้อง ๆ ยังเล่นต่อกันอีกหลายปี ใครมี file อยู่รบกวนขอด้วยครับ จะจัดฉลองใหญ่สมนาคุณ โปรแกรมนี้ดูเหมือนเป็นเกมส์ธรรมดา แต่สำหรับเครื่องในสมัยนั้น รัน os เป็น dos แต่ต้องรัน tetris สามเกมส์ในเครื่องเดียวกันแถมยัง มี background music และ sound effect ออกลำโพง digital ต้องใช้เทคนิค event driven กันเลยทีเดียว ไม่น่าเชื่อว่าเทคนิคโบราณจะกลับตอบโจทย์ concurrency สำหรับ server โปรแกรม หลายตัว เช่น nginx หรือ app ที่พัฒนาด้วย nodejs

Push หรือ pull สำหรับ mobile application

ช่วงนี้เห็นมี mobile application ใหม่ ๆ เกิดขึ้น และมีความต้องการการทำงานแบบ real-time ขึ้นเช่นการ update transaction บนหน้าจอ app ทันที ที่ transaction สำเร็จ model ที่ใช้กันมี 3 แบบหลัก ๆ ตามในรูป จากประสประสบการณ์ผม push-pull เป็นแบบที่เหมาะสมกับงานแบบนี้ที่สุด  แบบ polling ช้าและเกิดภาระที่ server สูง ส่วน push ต้องจัดการกับความไม่เสถียรของ mobile network ซึ่งถ้าไม่ได้ออกแบบรอบรับไว้ตั้งแต่ต้นรับรองว่างานหยาบ